เหมือนเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เงินกู้ซื้อบ้าน-คอนโดฯ ไม่ต้องพึ่งแบงก์ ปัญหาทุกวันนี้ยื่นกู้ไป 100 ราย เด้งกลับ กู้ไม่ผ่าน 40-50 ราย ตอนนี้มีโมเดลใหม่ ไม่ต้องพึ่งแบงก์ส่วนจะเป็นโมเดลใหม่ของใคร ? ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ ยังต้องพิสูจน์
ในเมื่อตลาดหลักสินเชื่อ คือ การกู้กับสถาบันการเงิน หรือกู้กับแบงก์โดยตรง มีข้อจำกัด แบงก์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ กลุ่มตลาดล่างโดนหนักสุด ดีเวลอปเปอร์บางรายบอกว่า กู้ไม่ผ่านสูงถึง 70%
ก็เลยมีการพูดถึงตลาดรองสินเชื่อบ้านเพื่อเป็นทางเลือก ตลาดหลักมีข้อจำกัด หันมาพึ่งตลาดรองดีไหม
พระเอกในเรื่องนี้ “บตท.-ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย” ตั้งขึ้นตามกฎหมายเมื่อปี 2540 มีหน้าที่ซื้อ “หนี้ดี” เข้าพอร์ตแล้วเอาไปออกบอนด์ เป็นแหล่งระดมทุนอีกต่อหนึ่ง
หลักการอยู่ที่ บตท.ให้สินเชื่อเองไม่ได้ รับซื้อได้แต่หนี้ดี ก็เลยต้องมีคนกลางที่มีหนี้จำนองอยู่ก่อนแล้ว
เดิม บตท.ซื้อหนี้ดีจากแบงก์เป็นหลัก แต่สภาพคล่องล้น ไม่มีแบงก์ไหนปล่อยหนี้ออกมาง่าย ๆ ทางเลือกใหม่ของ บตท. ก็เลยตัดตอนหาช่องทางมารับซื้อหนี้ดีจากบริษัทเจ้าของโครงการโดยตรง
อยู่ดี ๆ ดีเวลอปเปอร์ไม่เคยมีหนี้จำนองเป็นเรื่องเป็นราว เคยแต่ขายบ้านแล้วให้ลูกค้าไปกู้กับธนาคาร
วันนี้ บตท.เสนอไอเดียให้พัฒนาโครงการด้วย ปล่อยกู้ลูกค้าด้วย คัดคุณภาพเจ๋ง ๆ เพราะบริษัทต้องรู้จักลูกค้า มาแล้วระดับหนึ่ง แนวคิด คือ ลูกค้าซื้อบ้าน-คอนโดฯ เจ้าของโครงการให้กู้ สร้างประวัติหนี้ดี
จากนั้น บตท.จะเข้ามารับซื้อหนี้ดีไปบริหารต่อสร้างโอกาสให้ดีเวลอปเปอร์ ขายบ้าน 100 หลัง กู้ไม่ผ่านน้อยลง เท่ากับโอนบ้านได้มากขึ้น เรียกว่าโมเดลใหม่ของผู้ประกอบการแนวคิด คือ ลูกค้าสินเชื่อบ้านช่องทางปกติที่กู้กับแบงก์ มีปัญหาติดประวัติค้างชำระในเครดิตบูโร อาชีพอิสระไม่มีหลักฐานรายได้ประจำ แบงก์เซย์โนไม่อนุมัติ
ถ้าหันมากู้กับเจ้าของโครงการ โอกาสให้กู้น่าจะมากขึ้น ดอกเบี้ยคงที่ 4-5% นาน 10 ปี รับได้ไหม เรียกว่าโมเดลใหม่ของผู้บริโภค
มองต่างมุมแหล่งข่าวใน 3 สมาคมวงการพัฒนาที่ดินเมืองไทยบอกว่า ทาง บตท.เดินสายคุยมานานแรมปีแล้ว เคยให้ข้อสอบไป 4 ข้อ ยังไม่ได้รับคำตอบเป็นทางการ ดังนี้
1.ดีเวลอปเปอร์รับจำนองบ้าน ให้เงินกู้ จะต้องไม่ผิดกฎหมายธนาคาร ใช่หรือไม่
2.ขอให้ บตท.เขียนแผนผังธุรกรรม ขั้นตอนดำเนินการ
จุดเสี่ยง เพราะให้กู้ไปแล้ว บตท.ไม่รับซื้อหนี้ จะทำยังไง
“โมเดลนี้ ถ้าให้ดีเวลอปเปอร์รับจำนองอสังหาฯ เราต้องการให้จดจำนองแล้วข้าม (ไปหา บตท.) เลย ไม่ได้ต้องการเป็นเจ้าหนี้ตัวจริง transaction ตรงนี้ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง เพราะเราไม่ได้รับฝากเงินเหมือนธนาคาร ไม่มีเงินมาปล่อยสินเชื่อต่อเนื่อง”
3.ถ้าให้กู้แล้วเป็นหนี้เสีย จะต้อง without recost ห้ามเช็กบิลกับดีเวลอปเปอร์
“มองว่าเป็นจุดเสี่ยง ถึงแม้โมเดลตลาดรองสินเชื่อทำให้ขายบ้าน-คอนโดฯได้มากขึ้น แต่กำไรที่ได้ไม่สามารถ cover กับหนี้เสีย ตรงนี้ต้องชัดเจนว่า cost หนี้เสียจะต้อง without recost มาหาดีเวลอปเปอร์”
และ 4.การจดจำนอง จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายดับเบิล หมายความว่าวันนี้ดีเวลอปเปอร์รับจำนองจากลูกค้า หากว่าต้องโอนการรับจำนองต่อไปยังแบงก์ จะต้องไม่มีค่าใช้จ่าย2 ครั้ง (โอนพอร์ตหนี้ไปยัง บตท. ไม่เสียภาษีจดจำนอง เป็นไปตาม พ.ร.ก.ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2540)
ถ้าบริหารความสัมพันธ์ 3 เส้าได้ ทั้ง “ผู้บริโภค-เจ้าของโครงการ-บตท.”ตลาดรองสินเชื่อบ้านจึงจะนับเป็นเรื่องที่ดี และมีประโยชน์อย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูล prachachat
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.