“สมคิด” เร่ง “คมนาคม” ทำแผนพัฒนาพื้นที่รองสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สาย รูปแบบTOD ให้เวลาอีก 2 สัปดาห์ สรุปเสนอ “นายกฯ” เริ่มนำร่องพัฒนา 4 สถานี สายกรุงเทพ-ระยอง “อาคม” เผยแยกพัฒนารอบสถานีออกจากโครงการก่อสร้างและเดินรถที่จะได้พัฒนาเฉพาะในสถานีเท่านั้น พร้อมนำการจัดรูปที่ดินมาใช้แทนการเวนคืนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและไม่เดือดร้อน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการเวนคืนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ว่าแนวคิดและรายละเอียดมีความคืบหน้าพอสมควร โดยมีการกำหนดจุดและสถานีที่จะพัฒนาพื้นที่ของโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ
แต่ให้ทำรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องผลตอบแทนทางการเงินในแต่ละจุดที่ชัดเจนเพื่อนำไปกำหนดเงื่อนไขการเชิญชวน (TOR) เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ที่มีความเป็นไปได้ และมูลค่าโครงการ โดยให้เวลาอีก 2 สัปดาห์จะสรุปเรื่องนำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ การพัฒนาเส้นทางรถไฟไม่ใช่แค่ก่อสร้างทางรถไฟ แต่ต้องนำพื้นที่ซึ่งเป็นของภาครัฐบาลรายได้เพิ่ม ซึ่งจะเปิดให้เอกชนมาช่วยลงทุนหรือรัฐจะทำเอง แต่ที่สุดคือจะสร้างประโยชน์แก่ประเทศโดยรวม โดยเน้นเรื่องความโปร่งใส โดยขณะนี้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-รอยองนั้นมีความพร้อมที่จะนำเสนอเพื่อนำเข้าสู่ คณะกรรมการ PPP อนุมัติโครงการแล้วสามารถทำแผนพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องได้เลย ส่วนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ความร่วมมือกับจีนนั้นไทยจะลงทุนก่อสร้างเอง ดังนั้นต้องกำหนดแนวการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินของรัฐ เช่น กรมธนารักษ์ หรือพื้นที่ทหารเป็นหลัก แต่หากจะต้องใช้พื้นที่เอกชนหรือประชาชนจะต้องหาวิธีทำอย่างไรที่จะไม่ให้เดือดร้อน
นอกจากนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ได้เสนอแผนพัฒนา Rest Area บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพ-ระยอง ซึ่งได้ให้แนวคิดว่า จะต้องเป็น Rest Area รูปแบบใหม่ที่เป็นทั้งเส้นทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยว มีจุดดึงดูดให้ผู้ใช้เส้นทางแวะพักใช้บริการเหมือนที่ญี่ปุ่น ซึ่งไทยต้องทำให้ดีกว่า โดยร้านค้า ร้านอาหาร ต้องมีความโดดเด่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่มาจำหน่ายไม่ใช่เป็นอาหารฟาสต์ฟูดเหมือนปั๊มน้ำมันในปัจจุบัน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 152,528 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP ได้ในส.ค.-ก.ย.นี้ ขณะที่รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) วันที่ 5 ส.ค. ดังนั้นเส้นทางนี้จะเปิดประมูลได้ก่อนเนื่องจากโครงการมีความพร้อม โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หลักคิดจะเป็นแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ซึ่งจะแยกออกจากการก่อสร้าง และแยกการพัฒนาเป็นรายสถานี เนื่องจากนำมารวมกันทั้งโครงการจะมีมูลค่าสูงมากเกินไป
โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องทำรายละเอียดและประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์,มูลค่าผลตอบแทน โดยจากการประสานกับกรมโยธาธิการและผังเมืองและการออกแบบพบว่าเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง มีสถานีที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ คือ ลาดกระบัง, ศรีราชา, พัทยา, ระยอง, ฉะเชิงเทรา จะศึกษารายละเอียด TOR ต่อไปว่าควรมีองค์ประกอบในการพัฒนาอย่างไรบ้าง เช่น มีโรงแรม, ศูนย์การค้า เป็นต้น เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน มี 3 จุด คือสถานีราชบุรี,เพชรบุรี,หัวหิน ส่วน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช มี 3 จุด คือ สระบุรี, นครราชสีมา, ปากช่อง
อย่างไรก็ตาม ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ของการรถไฟฯ ที่ราชพัสดุ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินของเอกชนหรือประชาชน จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน แทนการเวนคืน โดยให้สมัครใจนำที่ดินมารวมกันพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยยังสามารถอยู่ในพื้นที่ได้ หลักการเช่น ชาวบ้านมีที่ดิน 1 0ไร่ นำมาร่วมจัดรูปที่ดินซึ่งอาจจะต้องตัดที่ดินบางส่วนทำเป็นถนนแต่จะทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากเดิม และยังอยู่ในพื้นที่ได้ต่อไป เป็นต้น ส่วนปัญหาเรื่องกฎหมายเวนคืนขณะนี้ทางกฤษฎีกากำลังพิจารณาแก้ไข
ขอบคุณข้อมูล:ผู้จัดการออนไลน์
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.