กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อวางรากฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย (EEC) ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และเป็นโครงการเริ่มต้นที่จะเกิดไปยังภาคอื่น ๆ ในอนาคตเช่นเดียวกัน
โดยครม.มีข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำไปแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อนำกลับมาให้ครม.พิจาณาอีกครั้งก่อนจะส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ดังนี้
1.เปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.จากเดิม “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” เป็น ร่าง “พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” สามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจาก 3 จังหวัดได้
2.จัดตั้งคณะกรรมการนโยบาย หรือ “ซุปเปอร์บอร์ด” มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และปัจจุบันมีรัฐมนตรี 11 กระทรวง เป็นกรรม จาก 21 กระทรวง โดยให้มีเพิ่มเติม 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงเกษตร ฯ
3.ให้อำนาจซุปเปอร์บอร์ดประกาศพื้นที่ใดเป็นเขตส่งเสริมพิเศษเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
4.การอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนเป็นพิเศษให้นักลงทุนในพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบันติดขัดด้วยข้อกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยนำอำนาจที่สามารถอนุมัติได้ในที่เดียวมาไว้ใน สำนักงานเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สำนักงาน EEC) โดยนำกฎหมายที่การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) มีไว้อยู่แล้วเดิม ให้นำมาไว้ในสำนักงาน EEC และบวก บวกกฎหมายอื่น ๆ เข้ามาไว้ในที่เดียวเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เช่น กฎหมายที่ต้องได้รับการยกเว้น หรือ กฎหมายที่จำเป็นเพื่อโอนอำนาจมาไว้ในสำนักงาน EEC เพื่อดำเนินการเป็น One Stop Servies ให้กับนักลงทุน เช่น กฎหมายร่วมทุน กฎหมายคอนโด กฎหมายคนต่างด้าว กฎหมายวิชาชีพ กฎหมายอาหารและยา กฎหมายทะเบียนการค้า
5.การตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชุมชนและประชาชนที่อยู่ภายในที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเงินงบประมาณของกองทุนจะมาจากบริษัทต่าง ๆ ในพื้นที่ที่เข้ามาลงทุน
“ครม.ยังหารือในเรื่องผังเมือง การแลกเปลี่ยนเงินตรา การอนุญาตขุดดิน ถมดิน ควบคุมอาคาร จดทะเบียนเครื่องจักร การตรวจคนเข้าเมือง สิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าว สิทธิการเช่าที่ดิน สิทธิการลดหย่อนภาษี การใช้ที่ราชพัสดุ โดยไม่ต้องเข้ากฎหมายร่วมทุน การนำคนต่างด้าวที่เป็นผู้ชำนาญการนำครอบครัวเข้าเมือง การนำคนต่างด้าวมาทำงานในตำแหน่งที่กำหนด และผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่ต้องการเข้ามาทำงาน เป็นต้น ซึ่งเรื่องที่รอการอนุมัติไปติดอยู่ที่กระทรวงต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ ดังนั้นจึงมีการพิจารณาว่าส่วนใดควรคงไว้ในหน่วยงานต้นสังกัดและส่วนใดบ้างควรย้ายโอนมายังสำนักงาน EEC”
ขอบคุณข้อมูลจาก prachachat
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.