นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร การกำหนดฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 49 ทวิ โดยกำหนดให้ใช้ราคาที่ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามความเป็นจริง หรือตามราคาประเมินทุกทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์
สำหรับสาระสำคัญใน การแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ได้เปลี่ยนมาเป็นการกำหนดให้ใช้ราคาที่ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามความเป็นจริง หรือตาม ราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมที่ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นฐานในการคำนวณภาษี ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับความเป็นจริง
“จากการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนั้น จะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีอากรมีประสิทธิภาพ โดยทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้ตามราคาที่แท้จริงจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์” นายณัฐพรกล่าว
ขณะที่ในปัจจุบันการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การคำนวณเงินค่าธรรมเนียม ภาษีเงินได้จากการขายอสังหา ริมทรัพย์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรมที่ดินยังคงใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นฐานคำนวณ โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมปี 2559-2562 ที่จัดโดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นการประเมินรายพื้นที่ โดยขณะนี้กระทรวงการคลังได้ดำเนินการประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2560 เพื่อใช้บังคับพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้าง พ.ศ….ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎี กาด้านนางมัลลิกา ภูมิวารผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีศุลกากรและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี คอนซัลติ้ง จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตที่เพิ่งเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. โดยเสนอได้มีการกำหนดวิธีการคำนวณราคาขายปลีกให้ผู้ประกอบการต้องคำนวณ จากต้นทุน ค่าบริหารจัดการ และกำไรมาตร ฐาน อีกทั้งยังเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการปฏิเสธราคาขายปลีกและให้อำนาจในการกำหนดราคาขายปลีกของผู้ประกอบการเอง หากไม่เชื่อว่าราคาที่แจ้งเป็นราคาที่สอด คล้องกับกลไกตลาด
“การเพิ่มข้อกำหนดในการคำนวณราคาขายปลีกของผู้ประกอบการ หรือการให้อำนาจอธิบดีมากำหนดราคาใหม่ได้เองเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลใจให้กับภาคเอกชน เนื่องจากมองดูแล้วก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากระบบเดิมๆ ที่เคยทำมา สุดท้ายวัฏจักรเดิมคือการถกเถียงกันเรื่องการรับราคาก็จะกลับมา เกิดการแทรกแซงกลไกราคาและกลไกตลาดได้ ซึ่งหาก รัฐเข้ามากำหนดเอง โดยใช้เรื่องการจัดเก็บรายได้เข้ามาเป็นตัวตั้งและตั้งฐานภาษีให้สูงเกินกว่าจำเป็น สุดท้ายกลายเป็นการผลักภาระไปยังผู้บริโภค” นางมัลลิกากล่าว
ทั้งนี้ จึงอยากขอให้ สนช.มีการแก้ไขนำเงื่อนไขเรื่องการกำหนดราคาขายปลีกแนะนำออก โดยให้ใช้หลักการตรวจสอบย้อนหลัง (post audit) ในกรณีหากมีข้อสงสัยอันเป็นหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันได้แทน
ขอบคุณข้อมูลจาก : Thaipost
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.